หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย (หน้าที่ ๒)
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
อัตชีวประวัติพระอริยสงฆ์ และพระเกจิอาจารย์ในประเทศไทย
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
๑๖ มกราคม ๒๔๓๐ - ๒ กรกฏาคม ๒๕๒๘
วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

คติธรรม คำสอน :
ของเก่าปกปิดความจริง ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่มีความสำเร็จ

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
๔ ตุลาคม ๒๔๓๐ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๖
วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

คติธรรม คำสอน :
จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น ...เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว ...เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ............................เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง .........เป็นนิโรธ

หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล
๑ มกราคม ๒๔๓๑ - ๒๑ กันยายน ๒๔๙๙
วัดป่าบ้านคุ้ม ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

คติธรรม คำสอน :
ให้มันตาย ให้มันตายหมดโคตร หมดเชื้อหมดแนวมัน หมดพ่อ หมดแม่มัน ............. นี่แหละเท่าทันวัฏสังขาร
มันสิไก่ตัวผู้ ตัวเมียได้อย่างไร มันไม่ใช่ตัวผู้ตัวเมีย ไม่ใช่ไก่ เป็นสิ่งสมมติทั้งนั้นละ ... อย่าติดสมมติ

หลวงปู่ตื้อ  อจลธมฺโม หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๑ - ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗
วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

คติธรรม คำสอน :
ธรรมะคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เองมิใช่อื่น พุทธะคือผู้รู้ ก็ตัวของเรานี้เองมิใช่ใครอื่น เช่นเดียวกันกับไข่ ไข่อยู่ข้างในของเปลือกไข่ ทำให้เปลือกไข่แตกเราก็ได้ไข่ พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ

พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)
๒๔ เมษายน ๒๔๓๑ - ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕
วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

คติธรรม คำสอน :
ความรัก ความชัง เป็นปฏิปักษ์ธรรม

หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ขาว อนาลโย
๒๘ ธันวาคม ๒๔๓๑ - ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖
วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

คติธรรม คำสอน :
คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะมีความประพฤติที่ต่างกัน ผู้ที่เขาประพฤติดี รักษาศีลมีการให้ทาน มีการสดับรับฟังพระธรรม เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี การจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วต่าง ๆ กัน มันเป็นเพราะกรรม

หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
๒๗ มกราคม ๒๔๓๒ - ๘ กันยายน ๒๕๐๗
วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

คติธรรม คำสอน :
วิธีแก้จิตก็คือวิธีนั่งสมาธินี้เอง แต่ก็เป็นของที่ขาดคราวมานาน จนผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาเข้าใจผิดไปหมดว่า หมดคราวหมดสมัย หมดเขตมรรคผลธรรมวิเศษเสียแล้ว

หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ
๑๖ กันยายน ๒๔๓๓ - ๑๓ มกราคม ๒๕๒๐
วัดดอนยายหอม ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

คติธรรม คำสอน :
รู้จักพอ ก่อสุขทุกสถาน
จิตหาญ ใจพ้นทุกข์ สุขด้วยธรรม

หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่บุดดา ถาวโร
๕ มกราคม ๒๔๓๗ - ๑๒ มกราคม ๒๕๓๗
วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

คติธรรม คำสอน :
อย่าทิ้งวิริยบารมีจนกว่าจะตรัสรู้ธรรมนะ รู้จักทุกข์แล้วปล่อยทุกข์ซะ อยากพ้นทุกข์ก็อยู่กับธรรมะ อยากเป็นทุกข์ก็ไปอยู่กับสัตว์โลก ...ภาษาธรรมนั้น ก็คือภาษาใจ อยู่ที่ไหนก็รู้กันได้ มนุษยธรรม เทวธรรม พรหมธรรม โลกุตรธรรม

เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๐ – ๘ มกราคม๒๕๑๔
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

คติธรรม คำสอน :
ผู้ศึกษาปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา" บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว
ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย

ย้อนกลับ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | หน้าต่อไป

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก