หน้าหลัก ตรัสรู้อริยสัจสี่ ไตรสิกขา สมาธิ (ทำความดี) สมถภาวนา
Search:

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจจ์ คือ ขันธ์ ๕ ที่คนเข้าไปยึดถือ เป็นทุกข์ ...
สมุทัยอริยสัจจ์ คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ... นิโรธอริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ ...
มรรคอริยสัจจ์ คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคล ผู้เดินไปตามทางนี้ ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่เป็นทางเดินไปสูอมตะ ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดตรัสรู้อริยสัจสี่

อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, และมรรค

ชาร์ตแสดงความสัมพันธ์แห่งอริยสัจ ๔ โดยจับคู่เป็น ๒ คู่

สมุทัยอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี ทุกข์อริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง
มรรคอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี นิโรธอริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง


 
ความทุกข์
 
การดับความทุกข์และสร้างสุขที่แท้จริง
 
 
 
ความทุกข์




เหตุให้เกิดทุกข์ : ตัณหา
 
ความดับทุกข์
ดับตัณหาและมีสุขที่แท้จริง
 
หลักปฏิบัติที่ทำให้พ้นทุกข์
และสร้างสุขที่แท้จริง
มัชฌิมาปฏิปทา
(ทางสายกลาง)

ชีวิตคืออะไร : ขันธ์ ๕
รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ
มีตัว มีตน
 
ชีวิตเป็นอย่างไร:ไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
 
ความทุกข์ :
     - ทุกข์กาย
     - ทุกข์ใจ
 
ประเภทและอาการแห่งทุกข์ ตามหลักทั่วไป
ทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์
หลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทุกข์

 
ชีวิตเป็นไปอย่างไร
กระบวนการเกิด "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร
 
 ตัณหา :
     - กามตัณหา
       (ความอยากมี)
     - ภวตัณหา
       (ความอยากเป็น)
     - วิภวตัณหา
       (ความอยากไม่ให้มี
       อยากไม่ให้เป็น)
 
 อุปาทาน :
     - กามุปาทาน
       (ยึดมั่นในความอยาก)
     - ทิฏฐุปาทาน
       (ยึดมั่นในทฤษฏี)
     - สีลัพพตุปาทาน
       (ยึดมั่นศีลและพรต)
     - อัตตวาทุปาทาน
       (ยึดมั่นตนเป็นหลัก)
อุปาทานขันธ์ ๕
 
ลักษณะแห่งตัณหา
ที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา
อาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
ทิฏฐิเกี่ยวกับตัณหา
กิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย



 
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร
กระบวนการดับ "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
 
ดับตัณหา
 
ดับอุปาทาน
 
 ดับทุกข์ :
     - ดับทุกข์ทางกาย
     - ดับทุกข์ทางใจ
 
ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก
 
ความสุขที่เหนือกว่า
ระดับชาวโลก
 
 

 

 

 

 

 

 


 

 
ความดับแห่งตัณหา
ธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา
ผู้ดับตัณหา
อาการดับแห่งตัณหา

 
   
     
(การละชั่ว)
 
 
สมถะภาวนา
ดับทุกข์และดับกิเลสชั่วคราว

 
 
 
วิปัสสนาภาวนา
ดับทุกข์และดับกิเลสถาวร

 
ไม่มีตัวตน (กาย/ใจ)
 
"อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอะไร
เป็นของตนอย่างแท้จริง
----------------------
สุญญตา : ว่าง
     
ไม่อยากเอา ไม่อยากเป็น
   
     
"ไม่ยึดมั่นถือมั่น"
(ไม่มีตัวกู ของกู)
สุญญตา : จิตว่าง
-----------------------
จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน
   

สมาธิ (ทำความดี)
สมถภาวนา

ดับทุกข์และดับกิเลสชั่วคราว
ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (มรรค) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนั่นเอง ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ :
             ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การดำรงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ
             ความตั้งใจมั่นชอบ อันนี้เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ

๑. สมาธิภาวนาตามวิธีธรรมชาติ
๒. สมาธิภาวนาตามหลักอิทธบาท
๓. สมาธิภาวนาโดยใช้สตินำ
๔. สมาธิภาวนาอย่างเป็นแบบแผน

สมาธิ กับอริยมรรคมีองค์ ๘
สัมมาวายามะ
ความเพียรชอบ
ปธาน ๔ คือ
๑) เพียรระวังไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น (สังวรปธาน)
๒) เพียรละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
๓) เพียรเจริญกุศลธรรมให้เกิดมีขึ้น (ภาวนาปธาน)
๔) เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (อนุรักขนาปธาน)
สัมมาสติ
ความระลึกชอบ
สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑) พิจารณาเห็นกายในกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ใช้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานได้
    ๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
    ๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
    ๓. สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจเข้า
    ๔. สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า

๒) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ใช้บำเพ็ญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานได้
    ๕. สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจออก สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจเข้า
    ๖. สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจออก สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจเข้า
    ๗. สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
    ๘. สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า

๓) พิจารณาเห็นจิตในจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ใช้บำเพ็ญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้
    ๙. สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิต หายใจเข้า
    ๑๐. สำเหนียกว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก สำเหนียกว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
    ๑๑. สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    ๑๒. สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า

๔) พิจารณาเห็นธรรมในธรรม (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ใช้บำเพ็ญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานได้
    ๑๓. สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
    ๑๔. สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นว่าความคลายออกได้ หายใจเข้า
    ๑๕. สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
    ๑๖. สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจออก สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจเข้า
สัมมาสมาธิ
จิตตั้งมั่นชอบ
รูปฌาน ๔ ได้แก่
๑) ปฐมฌาน : วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒) ทุติยฌาน : ปีติ สุข เอกัคคตา
๓) ตติยฌาน : สุข เอกัคคตา
๔) จตุตถฌาน : อุเบกขา เอกัคคตา

อรูปฌาน ๔ ได้แก่
๑) อากาสานัญจายตนะ (ฌานที่กำหนดอากาศอันอนันต์)
๒) วิญญาณัญจายตะ (ฌานที่กำหนดวิญญาณอันอนันต์)
๓) อากิญจัญญายตนะ (ฌานที่กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใด ๆ)
๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานที่กำหนดสิ่งใด ๆ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

      สมาธิขันธ์

พุทธธรรม : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

      หลักมาตรฐานด้านสมถะ
      หมวด สมาธิ
      - การเจริญสมาธิ ตามวิธีธรรมชาติ
      - การเจริญสมาธิ ตามวิธีอิทธิบาท
      - การเจริญสมาธิ ตามวิธีใช้สตินำ
      - การเจริญสมาธิ ตามวิธีแบบแผน

ธรรมะบรรยาย
      คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก