หน้าหลัก ตรัสรู้อริยสัจสี่ นิโรธอริยสัจ โลกุตรสุข
Search:

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจจ์ คือ ขันธ์ ๕ ที่คนเข้าไปยึดถือ เป็นทุกข์ ...
สมุทัยอริยสัจจ์ คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ... นิโรธอริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ ...
มรรคอริยสัจจ์ คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคล ผู้เดินไปตามทางนี้ ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่เป็นทางเดินไปสูอมตะ ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดตรัสรู้อริยสัจสี่

อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, และมรรค

ชาร์ตแสดงความสัมพันธ์แห่งอริยสัจ ๔ โดยจับคู่เป็น ๒ คู่

สมุทัยอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี ทุกข์อริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง
มรรคอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี นิโรธอริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง


 
ความทุกข์
   
   
ทุกข์อริยสัจ (ทุกข์)
ความทุกข์
สมุทัยอริยสัจ (สมุทัย)
เหตุให้เกิดทุกข์ : ตัณหา
ความดับทุกข์
ดับตัณหาและมีสุขที่แท้จริง
ชีวิตคืออะไร : ขันธ์ ๕
รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ
มีตัว มีตน
 
ชีวิตเป็นอย่างไร:ไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
 
ความทุกข์ :
     - ทุกข์กาย
     - ทุกข์ใจ
 
ประเภทและอาการแห่งทุกข์ ตามหลักทั่วไป
ทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์
หลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทุกข์
ชีวิตเป็นไปอย่างไร
กระบวนการเกิด "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร
 
 ตัณหา :
     - กามตัณหา
       (ความอยากมี)
     - ภวตัณหา
       (ความอยากเป็น)
     - วิภวตัณหา
       (ความอยากไม่ให้มี
       อยากไม่ให้เป็น)
 
 อุปาทาน :
     - กามุปาทาน
       (ยึดมั่นในความอยาก)
     - ทิฏฐุปาทาน
       (ยึดมั่นในทฤษฏี)
     - สีลัพพตุปาทาน
       (ยึดมั่นศีลและพรต)
     - อัตตวาทุปาทาน
       (ยึดมั่นตนเป็นหลัก)
อุปาทานขันธ์ ๕
 
ลักษณะแห่งตัณหา
ที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา
อาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
ทิฏฐิเกี่ยวกับตัณหา
กิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย
กระบวนการดับ "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
 
 
 
     - ดับทุกข์ทางกาย
     - ดับทุกข์ทางใจ
 
ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก
 
ความสุขที่เหนือกว่า
ระดับชาวโลก
 
 

 

 

 
ความดับแห่งตัณหา
ธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา
ผู้ดับตัณหา
อาการดับแห่งตัณหา
โลกุตรสุข
(ความสุขที่เหนือกว่าระดับชาวโลก)
ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ (นิโรธ) เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! ความดับสนิท เพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือ ของตัณหานั้นนั่นเทียว ความละไปของตัณหานั้น ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น ความหลุดออกไป ของตัณหานั้น และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใดอันนี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ

อริยสัจจากพระโอษฐ์ :
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

    อริยโลกุตตรธรรม สำหรับทุกคนทุกวรรณะ

พุทธธรรม :
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

    ความสุขที่ไม่เป็นเวทนา

ธรรมะบรรยาย
    คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โลกุตรสุข
ความสุขที่เหนือกว่าระดับชาวโลก
ลำดับชั้นของโลกุตรสุข
- เป็นชั้นที่ ๑๐ ของความสุข ซึ่งสูงกว่าโลกียสุข ๙ ชั้น
- โลกุตรสุข : สัญญาเวทยิตนิโรธ สมาปัตติสุข หรือ นิพพานสุข
  : ความสุขขั้นสูงสุด เป็นสุขที่ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด จึงเป็นสุขเหนือเวทนา
- โลกุตรสุข เป็นสุขเหนือเวทนา


โลกุตรภูมิ
มีจิตอยู่เหนือวิสัยชาวโลก ใจไม่ต้องการสิ่งใดๆ ในโลก แบ่งออกเป็น ๔ ชั้น
โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๑ : พระโสดาบัน
โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๒ : พระสกิทาคามี
โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๓ : พระอนาคามี
โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๔ : พระอรหันต์

โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๑ : พระโสดาบัน
ผู้แรกถึงกระแสแห่งพระนิพพานละสังโยชน์ (กิเลส) ซึ่งคือเครื่องผูกพัน 3 อย่าง คือ
๑) สักกายทิฎฐิ : ความเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นของตน ได้แก่ ความเข้าใจผิด หรือสำคัญผิดด้วยอุปาทาน เช่น คิดว่า "ตัวเรา" มีอยู่
๒) วิจิกิจฉา : ความสงสัยเป็นเหตุให้ลังเลไม่แน่ใจในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ลังเลเพราะไม่รู้จริง (อวิชชา)
๓) สีลัพพัตตปรามาส : การจับฉวยศีล และวัตรผิดความมุ่งหมายที่ถูกต้องโดยใจความ คือ การยึดมั่นในสิ่งที่ตัวเคยประพฤติปฏิบัติมาด้วยความเข้าใจผิด

โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๒ : พระสกิทาคามี
จะเวียนมาสู่โลกนี้เพียงอีกครั้งเดียว : ละสังโยชน์(กิเลส) ซึ่งคือเครื่องผูกพัน 3 อย่าง และ โลภะ โทสะ โมหะ บางส่วน :
๑. สักกายทิฎฐิ : เหมือนพระโสดาบัน
๒. วิจิกิจฉา : เหมือนพระโสดาบัน
๓. สีลัพพัตตปรามาส : เหมือนพระโสดาบัน
และ โลภะ โทสะ โมหะ บางส่วน
จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งเดียว เพราะโลภะ โทสะ โมหะ เบาบางมาก แต่ยังไม่หมดโดยสิ้นเชิง

โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๓ : พระอนาคามี
จะไม่เวียนกลับมาสู่กามภพ : ละสังโยชน์(กิเลส) ซึ่งคือเครื่องผูกพัน 5 อย่าง และ โลภะ โทสะ โมหะ
๑. สักกายทิฎฐิ : เหมือนพระสกิทาคามี
๒. วิจิกิจฉา : เหมือนพระสกิทาคามี
๓. สีลัพพัตตปรามาส : เหมือนพระสกิทาคามี
และ โลภะ โทสะ โมหะ : เหมือนพระสกิทาคามี
๔. กามราคะ : ของรักของใคร่ การติดความพอใจในกาม (กามุปาทาน)
๕. ปฏิฆะ : ความกระทบกระทั่งแห่งจิตที่รู้สึกไม่พอใจ

โลกุตตรภูมิ อันดับที่ ๔ : พระอรหันต์
พระอริยเจ้าชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา : ไม่มีการกลับมาเกิดอีกไม่ว่าภพใด ๆ
ละสังโยชน์ (กิเลส) ซึ่งคือเครื่องผูกพัน ๑๐ อย่าง :
๑. สักกายทิฎฐิ : เหมือนพระอนาคามี
๒. วิจิกิจฉา : เหมือนพระอนาคามี
๓. สีลัพพตตปรามาส : เหมือนพระอนาคามี
๔. กามราคะ : เหมือนพระอนาคามี
๕. ปฏิฆะ : เหมือนพระอนาคามี
๖. รูปราคะ ; ความรักใคร่ ความพอใจในความสุข ที่เกิดมาจากรูปสมาบัติ
๗. อรูปราคะ : ความพอใจ ติดใจในความสุขที่เกิดมาแต่อรูปสมาบัติ
๘. มานะ : ความรู้สึกที่สำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นชั้นเป็นเชิง ว่าเราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา เราดีหรือสูงกว่าเขา
๙. อุทธัจจะ : ความกระเพื่อม ความฟุ้ง หรือความไม่สงบนิ่ง โดยเฉพาะความอยากได้ อยากเป็น อยากไม่เอา อยากไม่ให้เป็น
๑๐. อวิชชา : ภาวะที่ปราศจากความรู้จริง ความรู้ถูกต้อง เป็นที่รวมของบรรดากิเลสทั้งหลาย ที่ไม่ได้ระบุชื่อไว้เป็นอย่างอื่น

- อวิชาในเรื่องความดับสนิทของทุกข์นั้น คือความไม่รู้เรื่องการดับกิเลส ดับตัณหา ซึ่งเป็นต้นเหตุของทุกข์โดยตรง ไปหลงเอาความสงบสุข หรือความไม่รู้สึกตัวชนิดที่เกิดมาจากสมาธิ หรือฌานสมาบัติ ว่าเป็นความดับทุกข์สิ้นเชิง

โลกุตรธรรม
ธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุ แยกออกเป็น ๙ อย่าง เรียกว่า โลกุตตรธรรม ๙
พระโสดาบัน : (๑) โสดาปัตติมรรค : ภาวะที่กำลังตัดกิเลสของพระโสดาบัน
(๒) โสดาปัตติผล : ผลจากการตัดกิเลสได้แล้วของพระโสดาบัน
พระสกิทาคามี : (๓) สกิทาคามิมรรค : ภาวะที่กำลังตัดกิเลส
(๔) สกิทาคามิผล : ผลจากการตัดกิเลสได้แล้ว
พระอนาคามี : (๕) อนาคามิมรรค : ภาวะที่กำลังตัดกิเลส
(๖) อนาคามิผล : ผลจากการตัดกิเลสได้แล้ว
พระอรหันต์ : (๗) อรหัตตมรรค : ภาวะที่กำลังตัดกิเลส
(๘) อรหัตตผล : ผลจากการตัดกิเลสได้แล้ว

(๙) นิพพาน : ละกิเลสทุกชนิดได้จนสิ้นเชิง นิพพานเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ไม่ต้องอาศัยสิ่งใด ปรุงแต่ง และไม่ปรุงแต่งสิ่งใด เป็นที่ดับของการ ปรุงแต่งทั้งปวง เป็นที่ปราศจากเครื่องผูกมัด เป็นที่มุ่งหมายปลายทาง ของพระพุทธศาสนา และเป็นเรื่องสุดท้ายของการปฏิบัติ ทางพระพุทธศาสนา

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก