หน้าหลัก ศาสนพิธี พิธีกรรมทางศาสนา ทานพิธี
Search:

"พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้"


หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
พิธีกรรมทางศาสนา
พิธีกรรมทางพุทธศาสนาแยกไว้เป็น ๔ หมวด คือ
๑. หมวดกุศลพิธี : ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล ๓. หมวดทานพิธี : ว่าด้วยพิธีถวายทาน
๒. หมวดบุญพิธี : ว่าด้วยพิธีทำบุญ ๔. หมวดปกิณณกะ : ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด
ทานพิธี คือพิธีถวายทานต่าง ๆ วัตถุที่ควรถวาย มี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. ภัตตาหาร
       ๒. น้ำ
       ๓. เครื่องนุ่งห่ม
       ๔. ยานพาหนะ
       ๕. มาลัยและดอกไม้บูชาพระ
       ๖. ของหอมคือดอกไม้บูชาพระ
       ๗. สบู่ชำระกาย
       ๘. ที่นอนหมอนมุ้ง
       ๙. กุฏิ เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้
       ๑๐. ตะเกียง น้ำมัน ตะเกียง ไฟฟ้า ไฟฉาย เป็นต้น.

แม้ของอื่น ๆ ที่สงเคราะห์เข้าในปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา ได้ และสิ่งจำเป็นต้องใช้ อันสมควรแก่พระภิกษุสามเณร ก็ จัดเป็นทานวัตถุทั้งสิ้น.

       การถวายทานมี ๒ อย่าง คือ :-
       ปาฏิบุคลิกทาน : ถวายเจาะจงพระ - เณร องค์นั้น องค์นี้.
       สังฆทาน : ถวายแก่สงฆ์ทั่วไป ไม่เจาะจงองค์ใด ๆ.

       เวลาถวายทาน มี ๒ เวลา คือ :-
       กาลทาน : ถวายจำกัดเวลา เช่น ผ้ากฐิน ภายใน ๑ เดือนท้ายฤดูฝน. อาหาร เช้าถึงเที่ยง.
       วิกาลทาน : ถวายไม่จำกัดเวลา เช่น อดิเรกจีวร, ยา, ที่นอน ที่นั่ง เป็นต้น.

       ระเบียบพิธี
       ระเบียบพิธีที่ต้องศึกษานี้ มุ่งถึงพิธีถวายแก่สงฆ์ ที่เรียกว่า "สังฆทาน" ซึ่งมีระเบียบพิธี คือ :-
       ๑. ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ คือมุ่งถวายสงฆ์จริง ไม่เห็นแก่หน้าผู้รับจะเป็นพระแก่ พระหนุ่ม หรือสามเณร ก็ได้ทั้งนั้น แต่ต้องให้สงฆ์ส่งมา ไม่ใช่ทายกเลือกเอาเอง.

       ๒. เตรียมทานวัตถุ คือจะถวายสิ่งของชนิดใด เวลาใด แก่สงฆ์กี่รูป ก็เตรียมให้พร้อม ถ้าเป็นของหนัก หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ ก็เตรียมให้เหมาะกับการที่จะถวายของนั้น ๆ ได้.

       ๓. เผดียงสงฆ์ คือแจ้งความประสงค์จะถวายสังฆทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ระบุจำนวนภิกษุสงฆ์เท่าที่ต้องการ ระบุเวลา - สถานที่ทำพิธีให้ชัดเจน.

       ๔. ครั้นพร้อมทั้งฝ่ายเจ้าภาพและฝ่ายสงฆ์แล้ว พึงปฏิบัติการพิธีดังต่อไปนี้ :-
           ก. เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย.
           ข. เจ้าภาพอาราธนาศีล รับศีล.
           ค. เจ้าภาพตั้ง นโม ๓ จบ, กล่าวคำถวายสังฆทาน ตามแบบอันสมควรแก่วัตถุทานนั้น ๆ.

       ๕. พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา ประนมมือรับว่า สาธุ ในขณะเจ้าภาพกล่าวคำถวายจบ. เมื่อเจ้าภาพประเคนทานวัตถุแล้ว (เป็นของหนักยกไม่ได้ หรือของเคลื่อนที่ไม่ได้ ก็รับน้ำที่เจ้าภาพหลั่งถวายในมือ หรือใช้สายสิญจน์โยงจากของนั้น ๆ ถวายแล้ว) ก็อนุโมทนา ยถา สพฺพีติโย. . .ใช้คาถาอนุโมทนาตามควรแก่ทานนั้น ๆ ภวตุ สพฺพมงฺคล. . . เจ้าภาพกรวดน้ำ. เป็นเสร็จพิธี.

คำถวายสังฆทาน
(ประเภท สามัญ ถวายเพื่อตนเอง)
       อิมานิ มย ภนฺเต, ภตฺตานิ สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ ภตฺตานิ สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.
       ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ขอข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.

(ประเภท มตกภัต อุทิศผู้ตาย)
       อิมานิ มย ภนฺเต มตกภตฺตานิ สปริวารานิ ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ มตกภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุอาทีนญฺจ าตกาน กาลกตาน, ทีฆรตฺต, หิตาย สุขาย.
       ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ มตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้น กาลนาน เทอญ.

คำถวายของต่าง ๆ มีคำที่เปลี่ยนจากคำว่า ภตฺตานิ ต่อไปนี้
       สลากภัต . . .ภตฺตานิ สปริวารานิ อสุกฏฺาเน ปิตานิ. . .
       ข้าวสาร . . . ตณฺฑุลานิ สปริวารานิ . . .
       เสนาสนะ กุฏิ วิหาร . . . เสนาสนานิ อาคตานาคตสฺส จาตุทฺทิสสฺส. . .
       ศาลาดรงธรรม . . . อิม สาล ธมฺมสภาย อุทฺทิสฺส จาตุทฺทิสสฺส. . .
       ผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) ...วสฺสิกสาฏิกานิ สปริวารานิ...
       ผ้าจำนำพรรษา . . . วสฺสาวาสิกจีวรานิ. . .
       ผ้าอัจเจกจีวร . . . อจฺเจกจีวรานิ . . .
       ผ้าป่า . . . ปสุกูลจีวรานิ . . .

(ต่อไปนี้ว่าเต็มทุกอย่าง)

ผ้ากฐิน (แบบที่ ๑)
อิม สปริวาร กินจีวรทุกสฺส, สงฺฆสฺส โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)

ผ้ากฐิน (แบบที่ ๒)
อิม ภนฺเต สปริวาร กินทุสฺส สงฺฆสฺส โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ อิม สปริวาร กินทุสฺส ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏฺคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กิน อตฺถรตุ, อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.

ธูปเทียน ดอกไม้ เพื่อบูชา
อิมานิ มย ภนฺเต ทีปธูปปุปฺผวรานิ รตนติตยสฺเสว ปูเชม. อมฺหาก รตนตฺตยสฺส ปูชา ทีฆรตฺต หิตสุขาวหา โหตุ อาสวกฺขยปฺปตฺติยา.

กระทงสำหรับลอยประทีป
มย อิมินา ปทีเปน อสุกาย นมฺมทาย นทิยา ปุลิเน ิต มุนิโน ปาทวลญฺช อภิปูเชม อย ปทีเปน มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส ปูชา อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย สวตฺตุ.

ธงเพื่อบูชา
มย อิมินา ธชปฏาเกน รตนตฺตย อภิปูเชม, อย ธชปฏาเกน รตนติตยปูชา อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย สวตฺตตุ.

เวจกุฏี
มย ภนฺเต อิม วจฺจกุฏึ อาคตานาคตสฺส จาตุทฺทิสสฺส ภิกฺขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุสงฺโฆ อิม วจฺจกุฏึ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.

สะพาน
มย ภนฺเต อิม เสตุ มหาชนาน สาธารณตฺถาย นิยฺยาเทม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ อิมสฺมึ เสตุมฺหิ นิยฺยาทิเต สกฺขิโก โหตุ, อิท เสตุทาน อมฺหาก ทีฑรตฺต หิตาย สุขาย สวตฺตุ.

เภสัชทานมีน้ำผึ้ง เป็นต้น
สรโท นามาย ภนฺเต กาโล สมฺปตฺโต, ยตฺถ ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ สารทิกาพาเธน อาพาธิกาน ภิกฺขูน ปญฺจ เภสชฺชานิ อนุญฺาสิ, สปฺปิ นวนีต เตล มธุ ผาณิต, มยนฺทานิ ตกฺกาลสทิส สมฺปตฺตา, ตสฺส ภควโต ปญฺตฺตานุค ทาน, ทาตุกามา, เตสุ ปริยาปนฺน, มธุญฺจ เตลญฺจ ผาณิตญฺจ ภิกฺขูนญฺเจว สามเณรานญฺจ โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, อยฺยา ยถาวิภตฺตา มธุทานญฺจ เตลญฺจ ผาณิตญฺจ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหาก ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย.

[กลับขึ้นบน]


      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธีสังเขป : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมโท - ศาสนพิธี เล่ม ๒ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นโท


   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
การบวชและพิธีกรรมทางศาสนา คลิกฟัง
   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธศาสนาเกิดขึ้นมา มิใช่ว่าพิธีกรรมจะไร้ความหมาย คลิกฟัง
ถ้าไม่ถือแบบงมงาย ก็อาจใช้พิธีกรรมมาสื่อธรรมให้ถึงคน คลิกฟัง
   โดย พระอาจารย์รูปอื่น ๆ
 

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก