หน้าหลัก ธรรมะปฏิบัติ วิธีการปฏิบัติธรรม
Search:
หน้าแรก : หมวดธรรมะปฏิบัติ

“อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมหนึ่งคือ..
อานาปานสติสมาธิ
ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์,
โพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์"

“..ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว... ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้ว... ย่อมละราคะได้
   วิปัสสนา ที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมละอวิชชาได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ ชื่อว่าปัญญาวิมุติ"

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

   หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง --> บรรลุอรหัตผล
   ละคลายจากความยึดมั่นถือมั่น -->คลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ละความโลภ โกรธ และหลง
   ไตรลักษณ์ -->จิตตกกระแสธรรมตัดกิเลส -->ละคลายจากอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)
   ขันธ์ ๕ --> พิจารณาเห็นเป็นไตรลักษณ์ : อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา
   วิปัสสนาภาวนา --> อารมณ์ของวิปัสสนาคือพิจารณาขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)

         การอุปสมบทเป็นพระ ๑๐๐ ปี ได้บุญน้อยกว่า การทำสมาธิ(สมถภาวนา) แม้นานเพียงแค่ไก่กระพือปีก
         สมถภาวนา(การทำสมาธิ) ๑๐๐ ปี ได้บุญน้อยกว่า วิปัสสนาภาวนา(การเจริญปัญญา) แม้เพียงชั่วขณะจิต
วิธีสร้างบุญบารมี : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
              หลักเกณฑ์การฝึกตามลำดับของพระพุทธองค์ (อย่างย่อ)
              สมถวิปัสสนา : ขั้นตอนสมบูรณ์
              สมาธิภาวนา(สมถะภาวนา)
              วิปัสสนาภาวนา
              หลักการของอานาปานสติ
              การทำสมาธิเบื้องต้น


      สมถวิปัสสนายุคปรมาณู โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
      สมถกัมมัฏฐาน : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นเอก
      วิปัสสนากัมมัฏฐาน : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นเอก
      ธรรมสมบัติ หมวด ๑๐ สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนา : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นเอก
      วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น : เล่าโดยพระอาจารย์บัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล)
      ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา : อุบายแห่งวิปัสสนาอันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
      แนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน : พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)


   โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
คู่มือการปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์(ตอนทื่๑กายานุปัสสน... คลิกฟัง
   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
กรรมฐานที่ใช้ในการเจริญสมถภาวนา คลิกฟัง
   โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร
สมถวิปัสสนา มิ ย 33 a คลิกฟัง
สมถวิปัสสนา คลิกฟัง
   โดย พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
สมถะภาวนา คลิกฟัง
สมถะ วิปัสสนากรรมฐาน คลิกฟัง
บทสูงสุดของสมถะภาวนา คลิกฟัง
   โดย พระอาจารย์รูปอื่น ๆ
หมวด : สมถภาวนา
หมวด : วิปัสสนาภาวนา

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก