หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย (หน้าที่ ๕)
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
อัตชีวประวัติพระอริยสงฆ์ และพระเกจิอาจารย์ในประเทศไทย
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
๑๖ เมษายน ๒๔๖๑ - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๑
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

คติธรรม คำสอน :
เตรียมสร้างทางชอบไว้ หวังกุศล
ตัวสุขส่งเสริมผล เพิ่มให้
ก่อนแต่มฤตยูดล เผด็จชีพ เทียวนา
ตายพรากจากโลกได้ สถิตด้าว แดนเกษม

พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๑ - ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕
วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

คติธรรม คำสอน :
การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้น เราศึกษาไปเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพื่อความสงบสุขเป็นจุดสำคัญ จะศึกษาเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องจิต เรื่องเจตสิกก็ตาม ก็เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้นจึงจะถูกทาง มิใช่เพื่ออย่างอื่น

พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๕ เมษายน ๒๕๔๕
วัดป่าเขาน้อย ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

คติธรรม คำสอน :
+++

พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)
๗ มกราคม ๒๔๖๓ - ปัจจุบัน (๒๕๕๒)
วัดธรรมมงคล ถ.สุขุมวิท ๑๐๑ ซ.ปุณณวิถี แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

คติธรรม คำสอน :
+++

พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
๑๐ กรกฎาคม ๒๔๖๓ - ๒๗ เมษายน ๒๕๒๓
วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

คติธรรม คำสอน :
+++

หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ
๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๓ - ๙ มีนาคม ๒๕๕๑
วัดเจริญสมณกิจ จังหวัดภูเก็ต

คติธรรม คำสอน :
+++

พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๔ – ปัจจุบัน (๒๕๕๒)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

คติธรรม คำสอน :
+++

หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๔ - ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๖
วัดป่าสำราญนิวาส จังหวัดลำปาง

คติธรรม คำสอน :
+++

หลวงปู่จันทา ถาวโร หลวงปู่จันทา ถาวโร
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ – ปัจจุบัน (๒๕๕๒)
วัดป่าเขาน้อย ตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร

คติธรรม คำสอน :
+++

หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
๑๗ เมษายน ๒๔๖๕ - ปัจจุบัน (๒๕๕๒)
วัด +++

คติธรรม คำสอน :
+++

ย้อนกลับ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | หน้าต่อไป

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก