หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ นางกาติยานี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๘. นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง

นางกาติยานี เกิดในกุกรรฆรนคร เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ เยาว์วัย มีหญิงสหายคนหนึ่งชื่อนางกาฬี เป็นชาวกุรรฆรนคร เช่นกัน

ในยามราตรีคืนหนึ่ง ขณะที่พระโกฆิกัณณโสณเถระ กำลังแสดงธรรมโปรดโยมมารดา และเป็นเหตุให้โยมมารดานั้น เป็นพระอริยกายสักขี (โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรค) ขณะนั้น นาง กาติยานีกับนางกาฬีผู้เป็นสหาย ก็ได้ร่วมฟังธรรมอยู่ข้างท้ายพุทธบริษัทนั้นด้วย

โจรขุดอุโมงค์เข้าบ้าน
ในคืนวันนั้น โจรประมาณ ๙๐๐ คน ได้ทำการขุดอุโมงค์จากมุมหนึ่ง ของตัวเมือง เข้าไป โผล่ทะลุที่บ้านของนางกาติยานี ตามแผนการที่วางไว้ ส่วนหัวหน้าโจรได้ไปร่วมอยู่กับพุทธ บริษัทที่ฟังธรรม เพื่อทราบว่าชนพวกนี้ มาประชุมกันด้วยเรื่องอะไร และเป็นการบังเอิญที่ยืนอยู่ ใกล้กับนางกาติยานีนั้น

เวลานั้น นางกาติยานี ได้ใช้ให้ทาสีกลับไปบ้าน เพื่อนำน้ำมันมาเติมประทีป ให้เกิดแสง สว่างในบริเวณโรงธรรม นางทาสีไปถึงบ้านก็พบโจรขุดอุโมงค์ ด้วยความตกใจไม่ทันได้นำน้ำ มันออกมา รีบกลับไปบอกกับเจ้านายหญิงว่า:-
“ข้าแต่แม่นาย ขณะนี้มีพวกโจรขุดอุโมงค์เข้าไปขโมยของเรือน เจ้าค่ะ”

หัวหน้าโจรซึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยินคำที่ทาสีบอกแก่เจ้านายหญิงเช่นนั้น ก็คิดว่า “ถ้าหญิง นี้ เชื่อคำทาสีแล้วกลับบ้าน เราจะเอาดาบฟันนางให้ขาดเป็นสองท่อน แต่ถ้าไม่กลับ และยังคงฟัง ธรรมต่อไป เราจะคืนทรัพย์สินทั้งหมด ที่โจรขโมยมาจากบ้านของนาง ให้แก่นาง”

ห่วงฟังธรรมมากกว่าสมบัติ
นางกาติยานี เมื่อฟังคำของทาสีแล้ว กล่าวว่า “นี่แม่คุณ อย่างทำเสียงดังเลย ธรรมดาพวก โจรทั้งหลาย เมื่อจะลักขโมยของ ก็จะเลือกเอาแต่ทรัพย์สินที่ตนเห็นว่ามีประโยชน์ มีคุณค่าเท่านั้น ส่วนเวลาที่ข้าจะได้ฟังธรรม เหมือนเช่นวันนี้ หาได้ยากยิ่งนัก เจ้าอย่าทำลายเวลาฟังธรรมของข้า เลย”

หัวหน้าโจร เมื่อได้ยินคำพูดของนางกาติยานีโดยตลอดแล้วคิดว่า “โอ! หนอ พวกเรา ทำกรรมหนักเสียแล้ว พวกเราพากันลักขโมยทรัพย์สิน ของหญิงผู้มีศรัทธามั่นคงอย่างนี้ อาจถึงกับ ธรณีสูบได้” ทันใดนั้น เขาได้สั่งให้ลูกน้องนำทรัพย์สินของนาง กลับไปคืนไว้ที่เดิมทั้งหมดแล้ว พากันมายืนฟังธรรมอยู่ข้างท้ายบริษัท เมื่อจบเทศนาของพระเถระแล้ว นางกาติยานีก็ดำรงค์อยู่ใน โสดาปัตติผล

พาโจรบวช
ครั้นรุ่งอรุณ หัวหน้าโจร ได้พาลูกน้องทั้งหมด กราบหมอบแทบเท้าของนางกาติยานี อุบาสิกา พร้อมกับกล่าวอ้อนวอนว่า:-
“ข้าแต่แม่เจ้า ขอโปรดยกโทษให้พวกเราด้วยเถิด”
“อะไรกันพวกท่านทำผิดอะไรกับฉันไว้หรือ ? ”
“ข้าแต่แม่เจ้า พวกเราขุดอุโมงค์เข้าไปลักขโมยทรัพย์สินในเรือนของท่าน”
“เอาเถอะ ฉันยกโทษให้พวกท่านทั้งหมด”
“ข้าแต่แม่เจ้า ถ้าท่านยกโทษให้พวกเราจริงก็ขอให้ท่านพาพวกเราไปบวช ในสำนักของ พระโกฏิกัณณโสณเถระด้วยเถิด”

นางกาติยานีอุบาสิกา ได้พาพวกโจรเหล่านั้นไปบวชตามต้องการ ในสำนักของพระเถระ แล้ว และก็ได้บรรลุพระอรหัตผลด้วยกันทั้งหมด

ต่อมา พระบรมศาสดาขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนา อุบาสิกาทั้งหลาย ในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ทรงพิจารณา ปรารภความมีศรัทธาเลื่อมใสอย่างแน่น แฟ้นในพระรัตนตรัย ของนางกาติยานีอุบาสิกาแล้ว ทรงสถาปนาแต่งตั้งนางไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เลื่อมใสมั่นคง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก