หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ อุคคตะคฤหบดี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๗. อุคคตะคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์

อุคคตะ เกิดในตระกูลเศรษฐี หมู่บ้านหัตถิคาม บรรดาญาติได้ขนานนามว่า “อุคคตกุมาร” เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ได้รับการศึกษาตามสมควรแก่ฐานะ อยู่ครองชีวิตใน ฆราวาสวิสัย จวบจนบิดาล่วงลับไป ได้รับตำแหน่งเศรษฐีแทนบิดา

เพราะดำรงอยู่ในตำแหน่งเศรษฐี ผู้มีทรัพย์มาก อันเป็นมรดกมาจากบิดา และบรรพบุรุษ ท่านจึงมีความคิดว่า บิดามารดาบรรพบุรุษของเรา หาทรัพย์มาเก็บสะสมไว้ ตายแล้วก็เอาไปไม่ ได้ เมื่อยามมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ใช่ให้เกิดประโยชน์กับตน การมีทรัพย์สมบัติมากมายอย่างนี้ จะมี ประโยชน์อะไร เราควรจะแสวงหาความสุข สนุกสำราญด้วยการใช้จ่ายทรัพย์เหล่านี้ จะดีกว่า

เมื่อคิดดังนี้แล้ว ท่านก็ให้บริวารจัดหาสุรารสเลิศ และหญิงสาวมาฟ้อนรำขับร้อง ห้อม ล้อมตนอยู่ตลอดวันและคืน โดยมิได้ทำกิจการงานอื่นใด

สมัยนั้น พระบรมศาสดา พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จเที่ยวจาริกเทศนา สั่ง สอนเวไนยสัตว์ไปตามคามนิคมน้อยใหญ่ เสด็จมาถึงบ้านหัตถิคาม แล้วเข้าไปประทับ ณ อุทยานชื่อนาคราวนะ

ต้นคดปลายตรง
ขณะนั้น อุคคตเศรษฐี มีหญิงสาวฟ้อนรำ ขับร้องบำเรออยู่ ตลอดกาลเป็นนิตย์ ท่อง เที่ยวแสวงหาความสำราญไปตามสถานที่ต่าง ๆ ด้วยอาการอันมึนเมา เพราะสุรา พวกบริวารพา เข้าไปในอุทยานนาคราวนะนั้น ครั้นได้แลเห็นพระพุทธองค์ ก็เกิดหิริโอตตัปปะ ความมึนเมา สร่างซาหายไปในฉับพลัน รวบรวมสติให้มั่นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบถวายบังคม แล้วนั่งลง ณ ที่อันสมควรแก่ตน

พระบรมศาสดา ได้ทอดพระเนตรอุคคตเศรษฐี ด้วยพระทัยประกอบด้วยมหากรุณาธิคุณ ทรงทราบว่าเศรษฐีนี้ มีอุปนิสัยแห่งอริยมรรคอยู่ จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด เมื่อ จบลงแล้ว เศรษฐีดำรงอยู่ในอริยภูมิ สำเร็จเป็นพระอนาคามี

ตั้งแต่นั้นมา อุคคตเศรษฐี ก็กล่าวกับสาวนักฟ้อนทั้งหลายว่า “พวกเธอจงรับทรัพย์ จำนวนเหล่านี้ แล้วไปดำเนินชีวิตตามความพอใจเถิด” และเศรษฐีเองก็มีจิตยินดี ตั้งมั่นอยู่ใน การรักษาศีล ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์โดยไม่มีกำหนดประมาณ แม้ในราตรีหนึ่ง ได้มีเทวดาองค์ หนึ่งมาแจ้งแก่เศรษฐีว่า
“ท่านเศรษฐี ภิกษุรูปโน้นมีวิชชา ๓ ภิกษุรูปโน้นมีอภิญญา ๖ ภิกษุรูปนั้นมีศีล ภิกษุ รูปนั้นทุศีล”

แม้จะได้ยินมาอย่างนี้ และตนเองก็ทราบดีมาก่อนแล้ว แต่ท่านก็ยังขวนขวายถวาย ไทยธรรม ด้วยจิตประกอบด้วยศรัทธาสม่ำเสมอในภิกษุเหล่านั้น

ด้วยคุณธรรมประจำจิตของอุคคตเศรษฐี ดังกล่าวนี้ พระบรมศาสดาขณะที่ประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ได้ทรงสถาปนาอุคคตเศรษฐี ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่า อุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต คือ ผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก