หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระเสลเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระเสลเถระ
" ข้าแต่พระผู้เป็นดวงตาของโลก พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
คือตื่นจากหลับด้วยอำนาจกิเลสเองแล้ว ยังปลุกผู้อื่นให้ตื่นตามด้วย
พระองค์เป็นพระศาสดา คือ สอนทั้งเทวดาและมนุษย์
พระองค์เป็นพระมุนีผู้มีอำนาจเหนือมาร
ทรงตัดกิเลสที่นอนเนื่องในพระทัยมานานแสนนานได้แล้ว
ทรงข้ามพ้นการเวียนว่ายตายเกิดได้ด้วยพระองค์เอง
แล้วยังช่วยส่งหมู่สัตว์ให้ข้ามพ้นตามด้วย
พระองค์เป็นเหมือนพญาราชสีห์ เพราะไม่ทรงกลัวภัยอันใด
ทรงทำลายอาสวะ ละความยึดมั่นได้หมด "

ชาติภูมิ
ท่านพระเสลเถระ มีชาติภูมิอยู่ที่ไหน เป็นบุตรของใคร ก็ไม่ปรากฏในตำนาน มีความชำนิชำนาญ เป็นคณาจารย์บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ประมาณ ๓๐๐ คน

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๑๒๕๐ องค์ผู้เป็นบริวาร เสด็จจาริก ไปยังอุตตราปถชนบท บรรลุถึงอาปณนิคม เสด็จประทับอยู่ ณ นิคมนั้น

เกณิยชฎิลทูลขอเพื่อถวายทาน
เกณิยชฎิล ได้ยินกิตติศัพท์ว่า พระสมณโคดมศักยบุตร เสด็จออกทรงผนวช จากศากยตระกูล ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก เสด็จมา มีความประสงค์อยากจะเห็นพระองค์ จึงเข้าไปเฝ้า

ครั้นได้ฟังธรรมีกถาของพระองค์แล้ว เกิดความเลื่อมใส ได้นิมนต์พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น

พระองค์ทรงรับสั่งว่า ดูกรเกณิยะ ภิกษุสงฆ์ ที่เป็นบริวารมากถึง ๑๒๕๐ องค์ ทั้งท่าน ก็ยังเลื่อมใสในลัทธิของพราหมณ์ด้วย เกณิยชฎิล ทูลอ้อนวอนนิมนต์อย่างนั้นถึง ๕ ครั้ง พระองค์จึงทรงรับ ด้วยอาการนิ่งอยู่

เมื่อเกณิยชฎิลทราบว่า พระองค์ทรงรับแล้ว จึงถวายบังคมลา กลับมาบอกแก่มิตรสหาย และญาติสายโลหิต ให้ช่วยกันจัดถวายพระ ในวันรุ่งขึ้น พวกชนเหล่านั้น ต่างคนต่างช่วยกันจัดแจงตามสมควร ส่วนเกณิยชฎิล จัดแจงโรงฉันด้วยตนเอง

เสลพราหมณ์ใคร่เห็นมหาปุริสลักษณะ
สมัยนั้น เสลพราหมณ์ ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของเกณิยชฎิล พร้อมด้วยมาณพผู้เป็นศิษย์ ๒๐๐ คน เที่ยวเดินเล่น ผ่านไปทางอาศรมของเกณิยชฎิล เห็นเขาจัดแจงโรงฉัน จึงไต่ถามทราบความว่า นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์มาฉัน

ครั้นได้ทราบอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์ อยากจะใคร่เห็นพระองค์ ด้วยคิดว่า จะสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะจริงหรือไม่ จึงถามเกณิยชฎิลอีกว่า พระสมณโคดมเสด็จประทับอยู่ ณ ที่ไหน เกณิยชฎิล ก็ชี้แจงทางให้ไป จึงพาศิษย์ไปเฝ้าพระบรมศาสดา สนทนาปราศรัยไปพลาง ตรวจดูมหาปุริสลักษณะไปพลาง เห็นมีครบบริบูรณ์ทุกอย่าง จึงเปล่งวาจาชมเชย ด้วยความเลื่อมใสแล้ว พร้อมด้วยบริษัท พากันทูลขอบรรพชาอุปสมบท

บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมบริวาร
เวลารุ่งเช้า พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปในที่นิมนต์ เสวยเสร็จแล้วทรงอนุโมทนา ส่วนท่านพระเสละพร้อมด้วยบริษัท พากันหลีกออกจากหมู่ไม่ประมาท อุตส่าห์บำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล.

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
+++


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
(http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com)
วาจานุสรณ์ : พระอสีติมหาสาวก โดย ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก