หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระมหานามเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระมหานามเถระ
 
ชาติภูมิ
ท่านพระมหานามเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์ ในกบิลพัสดุ์นคร ได้ยินพราหมณ์ผู้เป็นบิดาเล่าให้ฟังว่า เจ้าชายสิทธัตถะ มีลักษณะถูกต้อง ตามตำราลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ เพราะได้เคยเห็นพระองค์ ในเมื่อครั้งได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหาร ในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ จึงได้มีความเคารพนับถือ และเชื่อในพระองค์เป็นอันมาก จึงพร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๔ คน มีโกณฑัญญะพราหมณ ์เป็นหัวหน้า พากันออกบวชเป็นฤาษี ตามเสด็จ คอยปฏิบัติพระองค์อยู่

ต่อมาเมื่อพระเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกกรกิริยา(ทรมานตน) หันมาบำเพ็ญเพียรในทางใจใหม่ พากันเข้าใจว่า จะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษเสียแล้ว จึงเกิดความผิดหวัง พากันหลีกหนีพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

บรรลุธรรม
ครั้นพระเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จไปแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดเป็นครั้งแรก และทรงแสดง ปกิรณกเทศนาในวันเป็นลำดับไป ท่านได้สดับเทศนาทั้งสองนั้น แต่ยังไม่ได้สำเร็จมรรคผลอันใด ต่อเมื่อได้สดับ ปกิรณกเทศนาในวาระที่สาม ท่านได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน

อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ท่านได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ภายหลังได้ฟังเทศนา อนัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ผู้ชื่อว่า อเสขบุคคล(ผู้ไม่ต้องศึกษา)

ประกาศศาสนา
ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดา ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนาในตอนปฐมโพธิกาล ท่านองค์หนึ่งอยู่ในจำนวนนั้น ได้ช่วยเป็นกำลัง ประกาศพระศาสนาในที่ต่างๆ สั่งสอนกุลบุตรให้เกิดความเชื่อและความเลื่อมใส ให้ได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัย.

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
+++


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
(http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com)

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก