หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระมหาจุนทเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระมหาจุนทเถระ
 
ชาติภูมิ
ท่านพระจุนทะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อว่านางสารีพราหมณี ในตำบลบ้านชื่อว่านาลันทา แคว้นมคธ เดิมชื่อว่า จุนทะ เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว ภิกษุทั้งหลายมักเรียกท่านว่า “มหาจุนทะ

ท่านเป็นน้องชายของท่านพระสารีบุตร และได้เป็นพุทธอุปัฏฐากองค์หนึ่ง เมื่อครั้งพระบรมศาสดาเสด็จไปปรินิพพานที่กรุงกุสินารา ท่านก็เป็นอุปัฏฐาก ติดตามเสด็จไปด้วย เมื่อพิจารณาตามเรื่องราวของท่านแล้ว สันนิษฐานได้ว่า คงเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง

ประวัติพระมหาจุนทเถระ ในสัลเลขสูตร
เช่น สัลเลขสูตร ในมัชฌิมนิกายมี ความย่อว่า เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ในพระเชตวันมหาวิหาร ในพระนครสาวัตถี ท่านเข้าไปกราบทูลถามถึงทิฐิ ที่ประกอบด้วยคำของตน และถ้อยคำโลกว่า ภิกษุจะพึงทำอย่างไรดี จึงจะละทิฐิเหล่านั้นได้เด็ดขาด

พระบรมศาสดา ทรงแสดงวิธีขัดเกลากิเลสให้ท่านฟัง ท่านพระมหาจุนทะ มีความปลาบปลื้มใจอนุโมทนาภาษิตของพระองค์

สั่งสอนไม่ให้ภิกษุถือข้างถือฝ่าย
เรื่องที่ท่านให้โอวาทแก่ภิกษุโดยตรงก็มี เช่น ที่มาในฉักกนิบาตอังคุตตรนิกาย โดยความก็คือ สั่งสอนไม่ให้ภิกษุถือพวก ถือเหล่ากัน ยกภิกษุสองพวกนี้ ขึ้นเป็นตัวอย่าง คือ พวกภิกษุผู้เรียนคันถธุระฝ่ายหนึ่ง พวกภิกษุผู้เรียนวิปัสสนาธุระฝ่ายหนึ่ง ตามปกติธรรมดา ภิกษุย่อมจะสรรเสริญแต่ฝ่ายข้างตน ติเตียนอีกฝ่ายหนึ่ง

ท่านสอนไม่ให้ทำเช่นนั้น สอนให้สำเหนียกศึกษาว่า ตนจะอยู่ฝ่ายไหนก็ตาม ก็ให้พอใจในอีกฝ่ายหนึ่ง สรรเสริญคุณความดี ของกันและกันทั้งสองฝ่าย

ท่านพระมหาจุนทะนั้น เมื่อครั้งพระสารีบุตรเถระผู้พี่ชายไปนิพพานที่บ้านเดิม เพื่อโปรดมารดา ท่านได้ติดตามไปด้วย และได้รวบรวมบาตรและจีวร พร้อมทั้งอัฐิธาตุของท่านพระสารีบุตร นำมาถวายพระบรมศาสดาด้วย.

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
+++


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
(http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com)

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก