หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระนันทกเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๓๒. พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี

พระนันทกเถระ เกิดในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาวัตถี เมื่อเจริญวัยเติบโตขึ้นมาได้มี โอกาสไปฟังพระธรรมเทศนา จากพระบรมศาสดาแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใส กราบทูล ขออุปสมบท ในพระพุทธศาสนา ตั้งใจบำเพ็ญเพียรเจริญสมณธรรม ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

ท่านก็เป็นอีกรูปหนึ่ง ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ในการระลึกชาติในอดีตของตนเอง และ สัตว์อื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในการแสดงธรรม แก่พุทธบริษัททั้ง ๔ สามารถ ชี้แจงยกอุปมาอุปไมย อธิบาย จนทำให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง

ท่านเคยแสดงธรรมแก่ภิกษุณี จำนวนถึง ๕๐๐ รูป จนได้บรรลุพระอรหัตผล ณ วัดราชการาม ซึ่งเป็นวัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศล สร้างถวายตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งในครั้งนั้น ขณะที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร พระ มหาปชาบดีเถรี ได้พาภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป มาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อรับฟังพระธรรม เทศนา และพระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายให้พระภิกษุณีเหล่านั้น และในบรรดาภิกษุสาวกเหล่า นั้น ก็มีพระนันทกะรวมอยู่ด้วย

หลีกเลี่ยงแสดงธรรมแก่ภิกษุณี
พระสาวกรูปอื่น ๆ เมื่อถึงวาระของตน ก็ไปแสดงธรรมตามหน้าที่ ด้วยดีทุกองค์ แต่พอ ถึงวาระของพระนันทกะ ท่านไม่ไปแสดงธรรมเอง แต่ให้พระภิกษุรูปอื่น ไปแสดงธรรมแทน เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะท่านระลึกชาติในอดีตได้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้น ในอดีตชาติเคยเป็นบาท จาริกา ข้ารับใช้ของท่านมาก่อน” ดังนั้น ท่านจึงเกรงว่า “ถ้าพระภิกษุพุทธสาวกรูปอื่นที่ สามารถระลึกชาติในอดีตได้ ทราบความแล้ว อาจจะตำหนิท่านว่า ยังมีความผูกพันกับภิกษุณีเหล่า นั้นอยู่ก็ได้”

เรื่องนี้ทรงทราบถึงพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชารับสั่งด้วยพระองค์เอง ให้พระนันทกะ ไปแสดงธรรมแก่นางภิกษุณีเหล่านั้น ท่านไม่อาจจะขัดพระบัญชาได้ จึงต้องไป เมื่อถึงวาระของตน

ท่านแสดงธรรม ว่าด้วยเรื่องอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภาย นอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เมื่ออายตนะภายนอกสัมผัสกันแล้ว ทำให้ เกิดเวทนา ถ้าชอบใจ ก็เกิดสุขเวทนา ถ้าไม่ชอบใจ ก็เกิดทุกขเวทนา ถ้าไม่เกิดความรู้สึกชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ก็เป็นอุเบกขาเวทนา ท่านได้ชี้แจงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้น ไม่เที่ยงแท้ ย่อมผันแปร เปลี่ยนไป ไม่มีตัวตนที่ควรจะยึดถือได้

ท่านพระนันทกะ ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุณีเหล่านั้นในวันแรก ภิกษุณีทั้งหลาย ได้บรรลุ เป็นพระโสดาบัน พากันชื่นชมโสมนัสยินดี ในธรรมกถาของท่าน พระบรมศาสดาทราบความนั้น แล้ว จึงรับสั่งให้ท่านไปแสดงธรรมอีกเป็นครั้งที่สอง ซึ่งท่านก็ได้แสดงในเรื่องเดียวกัน เมื่อจบ ลงแล้วนางภิกษุณีเหล่านั้น ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด ด้วยอานิสงส์ ที่สามารถ ควบคุมจิต ให้สงบจากความรักความผูกพันในอดีตชาติได้

ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่าน ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้ง หลาย ในทางผู้ให้โอวาทภิกษุณี

ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระนันทกเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก