หน้าหลัก ธรรมะปฏิบัติ รวมรายชื่อสำนักปฏิบัติธรรมที่น่าสนใจ
Search:
หน้าแรก : หมวดธรรมะปฏิบัติ

“อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมหนึ่งคือ..
อานาปานสติสมาธิ
ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์,
โพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์"

“..ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว... ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้ว... ย่อมละราคะได้
   วิปัสสนา ที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมละอวิชชาได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ ชื่อว่าปัญญาวิมุติ"

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

รวมรายชื่อสำนักปฏิบัติธรรม
ที่ ชื่อสถานที่ ที่อยู่ วิปัสสนาจารย์ แนวทางปฏิบัติ
วัดธรรมมงคล ๑๓๒ ถ.สุขุมวิท ซอย ๑๐๑ ตรอกปุณณวิถี ๒๐ แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ๑๐๒๖๐ โทร. ๐๒-๓๑๑-๑๓๘๗, ๐๒-๓๓๒-๔๑๔๕, ๐๒-๗๔๑-๗๘๒๒ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
วัดอัมพวัน ๕๓ หมู่ที่ ๔ ถ.เอเชีย กม. ๑๓๐ บ้านอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ๑๖๑๖๐ โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑, (๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๕๘/๘ ถ.เพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐ โทร. ๐๒-๔๑๓-๑๗๐๖, ๐๒-๘๐๕-๐๗๙๐-๔ คุณแม่สิริ กรินชัย สติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) ๖๘ หมู่ ๑ ต.เลเม็ด อ ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐ โทร. (๐๗๗) ๔๓๑-๕๙๖-๗, (๐๗๗) ๔๓๑-๖๖๑-๒ ท่านพุทธทาสภิกขุ อานาปานสติภาวนา
วัดป่าสุนันทวนาราม ๑๑๐ หมู่ที่ ๘ บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๕๐ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก อานาปานสติภาวนา
วัดภูหล่น ๙ บ้านภูหล่น ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๕๐ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์
วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เหมาะสำหรับผู้ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์
วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทร. (๐๓๕) ๒๔๒-๘๙๒, (๐๓๕) ๒๔๔-๓๓๕ พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้รูป-นาม
สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต หมู่ ๑ สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี ๑๘๒๓๐ โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘, (๐๓๖) ๓๐๕-๒๓๙ พระครูปลัดสุวัฒนเมตตาคุณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต) เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ภาวนา “พุทโธ”
๑๐ วัดสนามใน ๒๗ หมู่ ๔ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ๑๑๑๓๐ โทร. ๐๒-๔๒๙-๒๑๑๙, ๐๒-๘๘๓-๗๒๕๑ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ วิธีที่เป็นที่นิยมคือ วิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิ แต่ไม่ต้องหลับตา
๑๑ วัดป่านานาชาติ หมู่ที่ ๗ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ๓๔๓๑๐ หลวงพ่อชา สุภัทโท และพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ  
๑๒ วัดปทุมวนาราม ถ.พระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐๒-๒๕๑-๒๓๑๕, ๐๒-๒๕๒-๕๔๖๕ พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๑๓ วัดปากน้ำภาษีเจริญ ๘ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐ โทร. ๐๒-๔๖๗-๒๑๖๖ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “สัมมาอรหัง”
๑๔ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ๓ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
๑๕ วัดอินทรวิหาร อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ” วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐๒-๖๒๘-๕๕๕๐-๒ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แนวหลักสูตร คุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน
๑๖ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐ โทร. ๐๒-๔๔๑-๙๐๐๙, ๐๒-๔๔๑-๙๐๑๒   สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
๑๗ ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ที่ ๒ จังหวัดปทุมธานี ๑๙ หมู่ที่ ๑๖ ต.คลองสาม อ.คลองสาม จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐ โทร. ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๕ โทรสาร ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๔ ต่อ ๑๑๑ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
๑๘ วัดอโศการาม ๑๓๖ หมู่ที่ ๒ กม. ๓๑ ถ.สุขุมวิท (สายเก่า) ซ.สุขาภิบาล ๕๘ ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๘๐ โทร. ๐๒-๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒-๗๐๓-๘๔๐๕ หลวงพ่อลี ธมฺมธโร  
๑๙ วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร บ้านห้วยใหญ่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ๒๐๑๕๐ โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๕๐๖, (๐๓๘) ๒๓๗-๖๔๒, (๐๓๘) ๒๓๗-๙๑๒ พระจุลนายก (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)  
๒๐ สำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม ซ.ประชานุกูล ๗ ถ.ชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๐๐๐ โทร. (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖, (๐๓๘) ๒๘๓-๓๔๐ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
๒๑ วัดภัททันตะอาสภาราม สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี ๑๑๘/๑ หมู่ที่ ๑ บ้านหนองปรือ ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ๒๐๒๒๐ โทร. (๐๓๘) ๒๙๒-๓๖๑, ๐๘๑-๗๑๓-๐๗๖๔, ๐๘๑-๙๒๑-๑๑๐๑   สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
๒๒ วัดเขาสุกิม ๑๒ ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ๒๒๑๒๐ โทร. ๐๘-๙๙๓๑-๕๕๔๔, ๐๘-๑๔๕๖-๘๓๘๔ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้คำบริกรรม “พุทโธ”
๒๓ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) ๖๐ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าซุง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ๖๑๐๐๐ โทร. (๐๕๖) ๕๑๑-๓๖๖, (๐๕๖) ๕๑๑-๓๙๑ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”
๒๔ วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๗๐ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร นั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ “การนั่งสมาธิเพชรนั้น เป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น”
๒๕ วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐ โทร. (๐๔๔) ๒๕๔-๔๐๒, ๐๘-๑๙๖๗-๑๔๓๕ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
๒๖ วัดแดนสงบอาสภาราม ๙๙ ซอย ๑๙ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐ โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔, (๐๔๔) ๒๑๔-๘๖๙-๗๐ พระครูภาวนาวิสิฐ (ศรีสิวรรณ สิริสุวณฺโณ) สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
๒๗ วัดป่าวะภูแก้ว (เป็นวัดสาขาของวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา) หมู่ที่ ๑๑ บ้านวะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ๓๐๑๗๐ โทร. (๐๔๔) ๒๔๙-๐๔๕ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
๒๘ วัดหนองป่าพง ๔๖ หมู่ ๑๐ บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ อุบลราชธานี ๓๔๑๙๐ โทร. (๐๔๕) ๓๒๒-๗๒๙ หลวงพ่อชา สุภัทโท เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ
๒๙ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน (สาขาของวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี) ๖ หมู่ที่ ๒๕ บ้านเนินทาง ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐ โทร. (๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖, (๐๔๓) ๑๒๗-๗๙๐ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน
๓๐ วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม (วัดป่าเหล่างา) ซ.ศรีจันทร์ ๑๓ ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐ โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และหลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๑ วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย ๔๒๑๓๐ หลวงปู่หลุย จันทสาโร  
๓๒ วัดถ้ำกองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ๓๙๐๐๐ โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗ หลวงปู่ขาว อนาลโย แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๓ วัดป่าบ้านตาด บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ๔๑๐๐๐ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๔ วัดหินหมากเป้ง หมู่ที่ ๔ บ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ๔๓๑๓๐ โทร./โทรสาร (๐๔๒) ๔๒๑-๔๐๙ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๕ วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) บ้านนาคำแคน ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ๔๓๒๑๐ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๖ วัดดอยธรรมเจดีย์ หมู่ที่ ๓ บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ๔๗๒๘๐ ลวงปู่กงมา จิรปุญโญ และพระอาจารย์แบน ธนากโร แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๗ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ถนนรพช. หมู่ที่ ๑ ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ๔๗๑๙๐ โทร. (๐๔๒) ๗๒๒-๐๐๒ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม แนวพระอาจารย์มั่น ภาวนา “พุทโธ”
๓๘ วัดป่าสุทธาวาส ๑๓๙๖ หมู่ที่ ๑๐ บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ๔๗๐๐๐ โทร. (๐๔๒) ๗๓๓-๐๔๑, (๐๔๒) ๗๑๑-๕๗๓ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๙ วัดคำประมง ๒๐ หมู่ที่ ๔ บ้านคำประมง ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ โทร. ๐๘-๑๖๐๑-๖๙๖๐, ๐๘-๑๓๒๒-๗๑๐๗ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร  
๔๐ สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) เขากิ่ว ต.ไร้ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐ โทร. (๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒ หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ) สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ
๔๑ เสถียรธรรมสถาน ๒๔/๕ ซ.วัชรพล (รามอินทรา ๕๕) แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐ โทร. ๐๒-๕๑๐-๖๖๙๗, ๐๒-๕๑๐-๔๗๕๖ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
๔๒ บ้านซอยสายลม ๙ ถ.พหลโยธิน ซอย ๘ ซอยสายลม (ระหว่างตึกชินวัตร ๑ และตึกพหลโยธินเพส) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”
๔๓ วัดพิชยญาติการาม ๖๘๕ ถ.ประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. ๑๐๖๐๐ โทร. ๐๒-๘๖๑-๔๓๑๙, ๐๒-๔๓๘-๔๔๔๒ พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) และแม่ชีทศพร ชัยประคอง สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
๔๔ วัดผาณิตาราม ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดผาณิตาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๐๐๐ โทร. (๐๓๘) ๕๐๒-๐๐๐, (๐๓๘) ๕๐๒-๐๘๗-๘ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
๔๕ วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ บ้านเขาวง ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ๑๘๑๒๐ โทร. (๐๓๖) ๒๓๖-๕๐๐-๕, ๐๘-๖๑๓๓-๖๘๘๙, ๐๘-๔๓๑๐-๙๔๔๒ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”
๔๖ วัดสังฆทาน ๑๐๐/๑ หมู่ที่ ๓ บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐๒-๔๔๗-๐๗๙๙, ๐๒-๔๔๗-๐๘๐๐ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก และหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
๔๗ ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า (ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา) กม. ๑๖๖+๙๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ (สุวรรณศร) ๒๐๐ บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕๐๐๐ โทร. (๐๓๗) ๔๐๓-๑๘๕, ๐๘-๙๗๘๒-๙๑๘๐ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
๔๘ ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า (ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา) กม. ๔๙+๔๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๑๒ (พิษณุโลก-หล่มสัก) ๑๓๘ แยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ๖๕๒๒๐ โทร. (๐๕๕) ๒๖๘-๐๔๙, ๐๘-๑๖๐๕-๕๕๗๖, ๐๘-๖๔๔๐-๓๔๖๓ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
๔๙ ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า (ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา) ๑๑๒ หมู่ที่ ๑ ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ๔๐๒๔๐ โทร. ๐๘-๖๗๑๓-๕๖๑๗, ๐๘-๔๗๙๖-๖๐๖๙ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
๕๐ ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า (ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา) ๒๐/๖ หมู่ที่ ๒ บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๔๐ โทร. (๐๓๔) ๕๓๑-๒๐๙, ๐๘-๑๘๑๑-๖๔๔๗, ๐๘-๑๘๑๑-๖๑๙๖ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
๕๑ ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า (ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี) ๔๒/๖๖๐ หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐ โทร. ๐๒-๙๙๓-๒๗๑๑, ๐๒-๙๙๓-๒๗๐๐, ๐๘-๑๘๔๓-๖๔๖๗ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
๕๒ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ๕๔๙/๙๔ ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ ๓๗) ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐๒-๔๑๒-๒๗๕๒ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๕๓ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ ๗๘/๘ หมู่ที่ ๑ ก.ม.๑๔ ถ.ติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทร. ๐๒-๕๓๘-๘๘๔๕, ๐๒-๕๘๔-๓๐๗๔ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) อานาปานสติภาวนา
๕๔ วัดเขาพุทธโคดม ศาลาธรรมสันติ ๔๒/๒ หมู่ที่ ๔ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐ โทร. (๐๓๘) ๗๗๒-๑๓๒, (๐๓๘) ๗๗๒-๙๔๔, (๐๓๘) ๓๑๒-๖๐๘ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
๕๕ วัดบูรพาราม ถ.กรุงศรีใน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ๓๒๐๐๐ โทร. (๐๔๔) ๕๑๔-๒๓๔ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน ๔
๕๖ วัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิเพธพลาราม บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ๔๗๒๕๐ โทร. ๐๘-๑๘๗๒-๘๔๓๓, ๐๘-๑๓๒๐-๗๘๖๒, ๐๘-๑๘๗๑-๙๘๔๕ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ แนวเจริญอานาปานสติกรรมฐาน
๕๗ วัดปัญญานันทาราม ๑ หมู่ที่ ๑๐ ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๑ โทร. ๐๒-๙๐๔-๖๑๐๑-๒, ๐๒-๙๐๔-๖๑๐๗ โทรสาร ๐๒-๙๐๔-๖๐๖๕ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) และพระครูสีลวัฒนาภิรม (พระมหาสง่า สุภโร) แนวอานาปานสติภาวนา
๕๘ ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม “สวนสันติธรรม” บ้านโค้งดารา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐ (สาขาของวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์) โทร. ๐๘-๑๙๑๕-๗๓๐๐, ๐๘-๑๕๕๗-๙๘๗๘ พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แนวดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน ๔
๕๙ วัดป่าสุคะโต สถาบันสติปัฏฐาน หมู่ที่ ๘ บ้านใหม่ไทยเจริญ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๕๐ โทร. ๐๘-๕๔๙๒-๗๗๐๙, ๐๘-๗๙๕๗-๑๖๘๔ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔


     

   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
เลือกหาที่สัปปายะ คลิกฟัง
   โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
สิ่งสัปปายะ คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก