หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระภัททิยะ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระภัททิยะ
 
ชาติภูมิ

ท่านพระภัททิยะ มีชาติภูมิอยู่ในเมืองกบิลพัศดุ์ เป็นบุตรพราหมณ์คนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๑๐๘ คน ที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหาร ในการทำนายพระลักษณะพระมหาบุรุษฯ

เหตุการณ์ก่อนออกบวช

ท่านได้ยินบิดาบอกเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีพระลักษณะถูกต้อง ตามมหาบุรุษลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ จึงมีความเคารพนับถือในพระองค์เป็นอันมาก เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวช ท่านพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า มีความเห็นร่วมกันว่า บรรพชาของพระมาบุรุษ จักไม่เลวทรามเสื่อมเสีย จากประโยชน์ คงจะอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย ครั้นดำริอย่างนี้แล้ว จึงพากันออกบวชเป็นฤาษี ติดตามเสด็จ คอยเฝ้าปฏิบัติอยู่ทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่า ถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมพิเศษแล้ว จักสั่งสอนตนให้บรรลุตามบ้าง ครั้นเห็นพระองค์ทรงละทุกกรกิริยา ที่ประพฤติมาเป็นเวลา ๖ ปี จึงมีความเบื่อหน่าย ในการที่จะปฏิบัติต่อไป ด้วยเข้าใจว่า พระองค์กลายเป็นผู้มักมาก ในกามคุณ คลายความเพียรเสียแล้ว เห็นจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันใดอันหนึ่งเป็นแน่ จึงพากันละพระองค์ไปเสีย ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดแสดง ธรรมเทศนาธัมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา แต่หาได้สำเร็จมรรคผลอะไร เพราะเทศนานั้นไม่ วันต่อมาหลังจากท่านวัปปะบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ได้ฟัง ปกิรณกเทศนาที่พระองค์ตรัสสอน ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผล จึงได้ทูลของบรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัยฯ

อุปสมบท

พระองค์ทรงรับให้เป็นภิกษุด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” เมื่ออินทรีย์แก่กล้าแล้ว ได้ฟัง พระธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ในสำนักของพระองค์ ในวันที่พระอรรถกถาจารย์กำหนดว่าแรม ๕ ค่ำ แห่งเดือนสาวนะ (เดือน ๘) ในเวลาจบเทศนา จิตของท่านก็หลุดพ้นจากกิเลส ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ประพฤติจบพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้ ท่านได้ช่วยเป็นกำลังพระบรมศาสดา ประกาศพระศาสนาคราวแรกองค์หนึ่ง เมื่อดำรงอายุสังขารอยู่พอสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพานฯ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
+++


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก http://www.geocities.com/piyainta

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก