หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระกีสาโคตรมีเถรี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๑๒. พระกีสาโคตรมีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

พระกีสาโคตมีเถรี ถือกำเนิดในสกุลคนเข็ญใจในกรุงสาวัตถี บิดามารดาตั้งชื่อให้นางว่า “โคตมี” แต่เพราะความที่นางเป็นผู้มีรูปร่างผอมบอบบาง คนทั่งไปจึงพากันเรียกนางว่า “กีสาโคตมี

เงินทองของเศรษฐีกลายเป็นถ่าน
ในกรุงสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่ง มีทรัพย์สินเงินทองมากมายถึง ๔๐ โกฏิ แต่ต่อมา ทรัพย์เหล่านั้น กลายสภาพเป็นถ่านไปทั้งหมด เศรษฐีจึงเกิดความเสียดาย เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมไปจากเดิม มีสหายคนหนึ่ง มาเยี่ยมเยียนได้ทราบสาเหตุความ ทุกข์ของเศรษฐีแล้ว จึงแนะนำอุบายที่จะให้ถ่านเหล่านั้น กลับมาเป็นเงินเป็นทองดังเดิมว่า:- “แน่ะสหาย ท่านจงนำถ่านทั้งหมดนี้ ออกไปวางที่ริมถนนในตลาด ทำทีประหนึ่งว่านำ สินค้าออกมาขาย ถ้ามีคนผ่านไปผ่านมาพูดว่า “คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ท่านกลับเอาเงินทองมานั่งขาย” ถ้าคนที่พูดนั้น เป็นหญิงสาว ท่านก็จงสู่ขอนางมา เป็นสะใภ้ แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่เธอ ท่านก็จงอาศัยเลี้ยงชีพอยู่กับเธอนั้น แต่ถ้าคนที่ พูดเป็นชายหนุ่ม ท่านก็จงยกธิดาของท่าน ให้แก่เขา แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เขา โดยทำนอง เดียวกัน

ถ่านกลับเป็นเงินเป็นทองดังเดิม
เศรษฐีได้ฟังสหายแนะนำแล้ว เห็นดีด้วย จึงทำตามสหายแนะนำทุกอย่าง ประชาชนที่ ผ่านไปผ่านมาต่างก็พูดกันว่า “คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ท่าน กลับมานั่งขายถ่าน”
เศรษฐีตอบว่า “ก็เรามีแต่ถ่านอย่างเดียว สิ่งอื่น ๆ ของเราไม่มี”

วันนั้น นางกีสาโคตรมี เดินเข้าไปธุระในตลาด เห็นเศรษฐีแล้ว นึกประหลายใจจึงถามว่า “คุณพ่อ คนอื่น ๆ คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ทำไมคุณพ่อกลับ เอาเงินทองมาขายเล่า”
“เงินทองที่ไหนกัน แม่หนู” เศรษฐีกล่าว
“คุณพ่อ ก็ที่กองอยู่นี่ไง” พูดแล้วนางก็กอบเต็มมือให้เศรษฐีดู ทันใดนัน เศรษฐีก็เห็น ถ่านในกำมือของนาง กลายเป็นเงินเป็นทองจริง ๆ

จากนั้น เศรษฐีได้สอบถามถึงสถานที่อยู่ และตระกูลของนางแล้ว ได้สู่ขอนางมาทำพิธี อาวาหมงคลกับบุตรชายของตน แล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏินั้น ให้แก่นาง ทรัพย์เหล่านี้ก็กลับเป็น เงินเป็นทองดังเดิม

อุ้มศพลูกหาหมอรักษา
นางได้อยู่ร่วมกับสามี จนมีบุตรหนึ่งคน ในขณะที่บุตรของนางอยู่ในวัยพอเดินได้เท่านั้น ก็ถึงแก่ความตาย นางห้ามมิให้คนนำบุตรของนางไปเผา หรือไปทิ้งในป่าช้า เพราะนางไม่เคยเห็น คนตาย จึงอุ้มร่างบุตรชายที่ตายแล้วนั้น เที่ยวเดินถามตามบ้านเรือนต่าง ๆ ว่ามียารักษาบุตรของ นางบ้างหรือไม่ คนทั้งหลาย พากันคิดว่า “นางคงจะเป็นบ้า จึงเที่ยวหายารักษาคนตายให้ฟื้น”

อุบาสกผู้มีปัญญาคนหนึ่ง เห็นกิริยาของนางแล้ว ก็คิดว่า “นางคงจะมีบุตรคนแรก จึงรัก บุตรมาก และคงจะไม่เคยเห็นคนตาย จึงไม่รู้ว่าความตาย เป็นอย่างไร เราควรจะแนะนำทางให้ นางดีกว่า” จึงกล่าวกับนางว่า:-
“แม่หนู ฉันเองไม่รู้จักยารักษาลูกของเธอหรอก แต่พระสมณโคดม ขณะนี้ประทับอยู่ที่ พระวิหารเชตวัน พระองค์ท่าน รู้จักยาที่รักษาลูกของเธอได้”

นางรู้สึกดีใจ ที่ทราบว่ามีคนสามารถรักษาลูกน้อยของนาง ให้หายได้ จึงอุ้มลูกน้อยรีบ มุ่งหน้าตรงไปยังพระวิหารเชตวัน เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วทูลถามหายาที่จะ มารักษาลูกของนางให้หายได้

พระพุทธองค์รับสั่งให้นาง ไปหาเมล็ดพันธุผักกาด หยิบมือหนึ่ง มาเป็นเครื่องปรุงยา แต่ มีข้อแม้ว่า จะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ผักกาด ที่ได้จากบ้าน ที่ไม่เคยมีคนตายมก่อนเท่านั้น จึงสามารถใช้ เป็นเครื่องปรุงยาได้

พระศาสดาบอกยาให้
ในดวงจิตของนางคิดว่า ของสิ่งนี้ หาไม่ยาก นางอุ้มร่างลูกน้อยเข้าไปในหมู่บ้าน ออก ปากขอเมล็ดพันธุ์ผักกาด ตั้งแต่บ้านหลังแรกเรื่อยไป ปรากฏว่าทุกบ้าน มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งนั้น แต่พอถามว่า ที่บ้านนี้เคยมีคนตายหรือไม่ เจ้าของบ้านต่างก็ตอบเหมือนกันอีกว่า “ที่บ้านนี้ คนที่ ยังเหลือยู่นี้ น้อยว่าคนที่ตายไปแล้ว” เมื่อทุกบ้านต่างก็ตอบนอย่างนี้ นางจึงเข้าใจว่า “ความตาย นั้นเป็นอย่างไร และคนที่ตาย ก็มิใช่ว่าจะตาย เฉพาะลูกของเธอเท่านั้น ทุกคนเกิดมา ก็ต้องตาย เหมือนกันหมด” นางจึงวางร่างลูกน้อย ไว้ในป่า แล้วกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า “ไม่ สามารถจะหาเมล็ดพันธุ์ผักกาด จากบ้านเรือนที่ไม่เคยมีคนตายได้”

พระพุทธองค์ ได้สดับคำกราบทูลของนางแล้วตรัสว่า:-
“โคตมี เธอเข้าใจว่า ลูกของเธอเท่านั้นหรือ ที่ตาย อันความตายนั้น เป็นของธรรมดา ที่มีคู่ กับสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมาในโลก เพราะว่ามัจจุราช ย่อมฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยเต็มเปี่ยม ไปด้วยกิเลสตัณหา ให้ลงไปในมหาสมุทร คือ อบายภูมิ อันเป็นเสมือนว่าห้องน้ำใหญ่ ฉะนั้น”

นางได้ฟังพระดำรัส ของพระบรมศาสดาจบลง ก็ได้บรรลุอริยผลดำรงอยู่ในพระโสดาบัน แล้วกราบทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดารับสั่ง ให้ไปบรรพชาในสำนักของภิกษุณีสงฆ์ นาง บวชแล้วได้นามว่า “กีสาโคตมีเถรี

วันหนึ่งพระเถรี ได้ไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เห็นแสงประทีปที่จุดอยู่ลุกโพลงขึ้น แล้วหรี่ลงสลับกันไป นางจึงถือเอาดวงประทีปนั้น เป็นอารมณ์ กรรมฐานว่า “สัตว์โลก ก็เหมือน กับแสนประทีปนี้ มีเกิดขึ้นและดับไป แต่ผู้ถึงพระนิพพาน ไม่เป็นอย่างนั้น”

ขณะนั้น พระผู้มีประภาคประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎิ ทรงทราบด้วยพระญาณว่า นาง กำลังยึดเอาเปลวดวงประทีป เป็นอารมณ์กรรมฐานอยู่นั้น จึงทรงแผ่พระรัศมีไปปรากฏประหนึ่ง ว่าพระองค์ ประทับนั่งตรงหน้าของนางแล้วตรัสว่า:-
“อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นและดับไป เหมือนเปลวดวงประทีปนี้ แต่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่ แม้เพียงชั่วขณะเดียวของผู้เห็นพระ นิพพาน ย่อมประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานนั้น”

เมื่อสิ้นสุดพระพุทธดำรัส นางก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ดำรงตนเป็นพระเถรีผู้เคร่งครัด ในการใช้สอยบริหาร ยินดีเฉพาะผ้าไตรจีวรที่มีสีปอน ๆ และเศร้าหมองเ ที่ยวไปทุกหนทุกแห่ง

ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงได้ประทานแต่งตั้งพระเถรีนี้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก