หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระวักกลิเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๒๓. พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา

พระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถุ ได้ศึกษาศิลปะวิทยา จบไตรเพท ตามความนิยมของลัทธิพราหมณ์

บวชเพราะอยากชมพระรูปโฉม
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จสู่พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ วักกลิมาณพ นั้น เป็นผู้มีอุปนิสัยหนักไปในทางราคจริต รักสวยรักงาม พอได้เห็นพระรูปโฉม อันสง่างาม ผิว พรรณผ่องใส พระอิริยาบถ ก็เหมาะสมไปทุกท่วงท่า จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใส และรักใคร่ไม่รู้จักเบื่อ หน่าย ในการดูพระวรกาย พยายามวนเวียน มาเฝ้าดูอยู่เป็นนิตย์ ผลที่สุดก็เกิดความคิดว่า “ถ้าเรา บวช ก็จะได้ตามดูพระวรกาย ของพระพุทธองค์ ได้อย่างใกล้ชิด และตลอดเวลา” เมื่อคิดดังนี้ แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขอ บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และพระบรมศาสดาก็ประทาน ให้สมประสงค์

เมื่อท่านบวชแล้ว ก็มิได้ใส่ใจในการที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ไม่มีการสาธยาย ท่องบ่น ไม่บำเพ็ญเพียรพระกรรมฐาน ทุกวันเวลา มีแต่มัวเมาเฝ้าดูพระรูปโฉม ของพระพุทธองค์มิได้ ละเว้น พระพุทธองค์เอง ก็มิได้รับสั่งว่ากล่าวแต่ประการใด ในเบื้องต้น ครั้นกาลเวลาผ่านไป พระองค์ตรัสเตือนให้พระวักกลิ เลิกละการเที่ยวติดตามดูร่างกาย อันจะเน่าเปื่อยนั้นเสีย และทรง ชี้ทางให้ท่าน กลับมาใส่ใจบำเพ็ญสมณธรรม ด้วยพระดำรัสว่า:-
“ดูก่อนพระวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม”

พระวักกลิ แม้ว่าพระพุทธองค์ จะตรัสเตือนอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม พระผู้ มีพระภาคจึงมีพระดำริว่า:-
“ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้รับความสลดใจเสียบ้าง ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย”

ถูกขับไล่ไปโดดเขาตาย
ครั้นมีพระดำริอย่างนี้แล้ว เมื่อใกล้จะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสู่ พระนครราชคฤห์ โดยมีพระวักกลิ ยังคงติดตามดูพระองค์อยู่ตลอดเวลา จึงตรัสเรียกให้ พระวักกลิ เข้ามาเฝ้า และตรัสประณามขับไล่เธอ ออกไปเสียจากสำนักของพระองค์ด้วย พระดำรัสว่า:-
“อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำนักของเรา”

พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไม่ทันจะตั้งสติได้ คิดอะไรไม่ออก จึงเกิดความ น้อยใจ และเสียใจเป็นอย่างมาก คิดว่าพระบรมศาสดา คงจะไม่เมตตา ทักทายปราศรัยกับเราอีก แล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกายรูปโฉม ของพระพุทธองค์อีกแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ทำไม จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่า จะไปกระโดดภูเขาคิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย พระบรมศาสดา เมื่อตรัสขับไล่เธอไปแล้ว ก็ทรงติดตามดูวารจิต และการกระทำของเธอ ก็จะตายแน่นอน จึงแสดงพระองค์ปรากฏให้เธอเห็น พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว ตรัสปลอบใจ ด้วยธรรมกถา

พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาโดยทางอากาศ พิจารณาพระโอวาทที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาบนอากาศนั้น แล้วลงมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา

ด้วยความที่ท่าน เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า อาศัยศรัทธาเป็นสื่อนำ จนสามารถได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่าน ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระวักกลิเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก