หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๕. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ - เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก

พระปุณณมันตานี เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ อัน ไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์มากนัก เดิมท่านมีชื่อว่า “ปุณณะ” แต่เนื่องจากมารดาของท่านชื่อ นางมันตานี คนทั่วไปจึงมักเรียกท่านว่า “ปุณณมันตานีบุตร” และโดยสายเลือดนับว่าท่านเป็น หลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ

พระปุณณมันตานี ได้เข้ามาบวชในพุทธศาสนา โดยการชักนำของ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้เป็นลุง ในสมัยเมื่อพระพุทธองค์หลังจากทรงจำพรรษาแรกที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน พอออกพรรษาแล้วทรงส่งสาวกจำนวน ๖๐ รูป ออกประกาศพระศาสนา นับว่าเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก พระอัญญาโกณฑัญญะ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย ท่าน ได้กลับไปที่บ้านของท่านแสดงธรรมโปรดญาติพี่น้อง ขณะนั้น ปุณณมันตานี บุตรหลานชาย ของท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสขอบวชในพุทธศาสนา ซึ่งท่านให้บรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อน แล้ว พาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ เมื่อบวช แล้วไม่นานอุตสาห์บำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

ปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้น
เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว มีปฏิปทาตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ:-

๑. อัปปิจฉตา เรื่องความปรารถนาน้อย
๒. สันตุฏฐิตา เรื่องความสันโดษ
๓. ปวิเวกตา เรื่องความสงัด
๔. อสังสัคคตา เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๕. วิริยารัมภะ เรื่องความเพียร
๖. สีลตา เรื่องศีล
๗. สมาธิ เรื่องสมาธิ
๘. ปัญญา เรื่องปัญญา
๙. วิมุตติ เรื่องความหลุดพ้น
๑๐ วิมุตติญาณทัสนะ เรื่องความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น

คุณธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กถาวัตถุ ๑๐ ประการ นี้กล่าวสั้น ๆ ก็คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ จะสั่งสอนบริษัทบริวารของท่านด้วย คุณธรรม ๑๐ ประการนี้ จากท่านจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของ ท่านไม่ว่าจะไปสู่ที่ใด ๆ ก็จะพากันกล่าวยกย่องพรรณนาคุณของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ผู้ เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน ให้ปรากฏแก่พุทธบริษัทในที่นั้น ๆ เสมอ แม้พระสารีบุตรเถระ ได้ ทราบข่าวคุณธรรมของท่านแล้ว ก็มีความปรารถนาจะได้สนทนาธรรมกับท่าน

สนทนาธรรมกับพระสารีบุตร
สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองสาวัตถี ณ ที่นั้นพระสารีบุตรกับพระ ปุณณมันตานีบุตร ได้มีโอกาสพบกัน พระสารีบุตรได้สนทนาไต่ถามท่านเกี่ยวกับวิสุทธิ ๗ ประการ อันได้แก่:-

๑. ลีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่า หรือมิใช่ทาง
๖. ปฏิปาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะกล่าวคือมรรคญาณ

พระปุณณมันตานีบุตร ได้ถวายคำอธิบายว่า วิสุทธิ ๗ นี้ ย่อมเป็นปัจจัยอาศัยส่งต่อกัน ไปจนถึงพระนิพพาน ท่านเปรียบเหมือน ๗ คัน ที่ส่งต่อ ๆ พลัดกันไปโดยลำดับ เมื่อการสนทนาไต่ถามกันและกันจบลง พระเถระทั้งสองต่างก็กล่าวอนุโมทนาคุณกถา ของกันและกัน และแยกกันกลับสู่ที่พักของตน

เพราะความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงต้นตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็ สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วย

พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- พระปุณณมันตานีบุตรเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก