หน้าหลัก พระพุทธเจ้า เมืองสำคัญในพุทธประวัติ เมืองปาวา
Search:

“ ....ตถาคตมีวิชชาและ วิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้วย่อมยัง วิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์
สติปัฎฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้วยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้วยังมีสติปัฎฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ปัจฉิมโอวาท:
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลาย ให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั่งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดพระพุทธเจ้า
สาวัตถี | ราชคฤห์ | สังกัสสะ | เวสาลี | ปาตลีบุตร | คยา | โกสัมพี | กบิลพัสดุ์ | เทวทหะ | เกสาริยา | ปาวา | พาราณสี | นาลันทา
เมืองปาวา
สถานที่เสวยพระกระยาหารครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์
ปาวา (อังกฤษ: Pava) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล เคยเป็นเมืองหลวง 1 ใน 2 เมืองหลวง ของเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งแควันมัลละ 1 ใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล ปาวา ปรากฏเรื่องราวในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จผ่าน เมื่อคราวเสด็จจากเมืองเวสาลี ไปยังกุสินารา เพื่อทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยพระพุทธเจ้าได้แวะพักที่ป่ามะม่วงของนายจุนทะ เพื่อฉลองศรัทธาเสวยอาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์ ที่นายจุนทะกัมมารบุตร (นายจุนทะบุตรของนายช่างทอง) จัดถวาย

ปัจจุบันเมืองปาวาเป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ 15 กิโลเมตรทางตะวันออกของกุสินารา ในรัฐอุตตระประเทศ ประเทศอินเดีย

เมืองปาวาสมัยพุทธกาล
พระพุทธเจ้าได้เสด็จผ่านเมืองแห่งนี้ เพื่อไปยังสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา โดยได้แวะพักที่ป่ามะม่วงของนายจุนทะ และรับฉลองศรัทธาด้วยสุกรมัทวะ ตามรับสั่งของพระองค์ เป็นพระกระยาหารมื้อสุดท้าย หลังจากพระองค์เสร็จภัตตกิจ พระองค์ได้ประชวรลงปักขันธิกาพาธอย่างหนัก ทรงสั่งให้นายจุนทะนำสุกรมัทวะไปฝังไว้ ณ บ่อน้ำ (ซึ่งบ่อนี้ยังปรากฏมาจนปัจจุบัน) หลังจากอนุโมทนาทานแล้ว ได้ทรงเสด็จไปยังเมืองกุสินารา โดยแวะที่กกุธารนทีระหว่างทาง

หลังพุทธปรินิพพาน เมืองปาวาได้รับส่วนแบ่ง 1 ใน 8 ส่วน แห่งพระบรมสารีริกธาตุจากโทณพราหมณ์ด้วย โดยปรากฏสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่จนปัจจุบันนี้ (แต่พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกพระเจ้าอโศกอัญเชิญไปประดิษฐานในที่อื่นแล้ว)

ปัจจุบันนอกจากสถูปพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังมีจุนทะสถูป สถานที่เสวยพระกระยาหารครั้งสุดท้าย ของพระพุทธองค์ด้วย โดยใกล้ ๆ กับสถูป มีบ่อน้ำโบราณซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นบ่อเดียวกันกับบ่อที่ฝังพระกระยาหารมื้อสุดท้าย ของพระพุทธเจ้า

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก