หน้าหลัก พระพุทธเจ้า สารคดีแห่งศตวรรษ ตามรอยพระพุทธเจ้า
Search:

“ ....ตถาคตมีวิชชาและ วิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้วย่อมยัง วิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์
สติปัฎฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้วยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้วยังมีสติปัฎฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ปัจฉิมโอวาท:
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลาย ให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั่งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดพระพุทธเจ้า
วีดีโอ : สารคดีแห่งศตวรรษ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"
      เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ปรัชญาทางศาสนาพุทธ คือรากฐานของวิทยาศาสตร์ ในยุคปัจจุบันทำไมเขาจึงกล่าวเช่นนั้น
      กว่า 2500 ปีก่อน เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบอะไร ทำไมสิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบ จึงเปลี่ยนแปลงความเชื่ออย่างขนานใหญ่ ให้กับคนในยุคนั้น ยุคที่เต็มไปด้วยความเชื่อเรื่องเทพเเจ้าและอิทธิฤิทธิ์ปาฎิหารย์ และ ทำไมศาสนาพุทธจึงสูญหายไปจากอินเดีย ดินแดนที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดแล้วปัจจุบันหล่ะ ศาสนาพุทธหายไปจากอินเดียจริงหรือหรือยังคงเหลือ อะไรบางอย่างไว้
      ตามรอยพระพุทธเจ้า สารคดีความยาว 12 ชั่วโมง กับการเดินทางอันยาวนาน เพื่อค้นหาความจริงอันยิ่งใหญ่ ที่เคยฝังตัวอยู่ใต้แผ่นดินของอินเดียมานานกว่า 700 ปี เรื่องราวของศาสดาเอกองค์หนึ่งของโลก ผู้มีปรัชญายึดหลักทางสายกลาง
      ตามรอยพระพุทธเจ้า จะพาผู้ชมย้อนเวลากลับไปในอดีต ครั้งสมัยก่อนพุทธกาล เพื่อเรียนรู้สภาพสังคม และความเชื่อในดินแดนชมพูทวีป ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อครั้งใหญ่ ความรุ่งเรืองและมั่นคงอย่างถึงขีดสุด ของศาสนาพุทธในสมัยพุทธกาล ความล่มสลายและสูญสิ้นไปจากแผ่นดินเกิดอย่างสิ้นเชิง ในสมัยหลังพุทธกาล
      อะไร เป็นสาเหตุความเสื่อมสลายในครั้งนั้น ความแตกต่างทางความเชื่อของศาสนาพุทธ แต่ละนิกายเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมชาวอินเดีย จึงยังคงรักษาความเชื่อในศาสนาฮินดูเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
      ตามรอยพระพุทธเจ้า สารคดีที่จะเปิดเผยเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาอย่างลึกถึงแก่น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดีและมานุษยวิทยาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งศตวรรษ

รายชื่อเรื่องสารคดีแห่งศตวรรษ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"
ตอนที่ ๑ : สู่ต้นกำเนิดแม่น้ำคงคา ตอนที่ ๗ : กองทัพธรรมพระเจ้าอโศก วันที่โลกได้รู้จักพระพุทธเจ้า
ตอนที่ ๒ : ค้นพบกรุงกบิลพัสดุ์ ตอนที่ ๘ : ปรัชญาที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ ๓ : การค้นพบความจริงอันยิ่งใหญ่ที่พุทธคยา ตอนที่ ๙ : วันที่พุทธหายไปจากอินเดีย
ตอนที่ ๔ : พาราณสี นคร ๔,๐๐๐ ปี ตอนที่ ๑๐ : เมืองพุทธแห่งหิมาลัย
ตอนที่ ๕ : เปิดประตูเมืองราชคฤห์ ตอนที่ ๑๑ : การกลับมาของสาวกพระพุทธเจ้า
ตอนที่ ๖ : การเดินทางครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ตอนที่ ๑๒ : ไขปริศนาการค้นพบอันยิ่งใหญ่
ขอขอบคุณ บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด
298 ซ.ลาดพร้าว94 (ปัญจมิตร)
แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง, กรุงเทพฯ 10310
โทร. 0-2934-4201-2, 0-2934-4256-7 แฟกซ์ : 0-2934-4726

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก